เที่ยบราชบุรีไปกลับวรรณนิศา

เที่ยบราชบุรีไปกลับวรรณนิศา

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตอบคำถามหน่วยที่2

1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ.สื่อการสอน Instruction Mediaหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใดๆ ที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน

2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษา หรือการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สื่อการ สอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้น โดยเสียเวลาน้อยลง การได้เห็น ได้ยินช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดได้ง่าย ทั้งยังช่วยเหลือในการศึกษาให้ทุกระดับความสามารถ อายุชั้นเรียนและทุกสาขาวิชาด้วย

3.จงอธิบายคุณสมบัติความของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ.
3.1สามารถจับยึดประสบการณ์ ทั้งในลักษณะของรูปเสียงสัญลักษณ์ต่างๆสามารถนำมใช้ตามต้องการ
3.2สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์
3.3สามารถแจกจ่ายและขยายความของข่าวสารออกเป็นหลายๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง

4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ.
4.1 เป็นศูนย์รวมความสนใจให้แก่
4.2 ทำให้บทผู้เรียนเป็นที่น่าสนใจ
4.3 ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
4.4 ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
4.5 แสดงความหมายของสัญลักษ์ต่างๆ หน่าย
4.6 ให้ ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ให้เกิดรูปนามธรรม
4.7 แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
4.8 อธาบยสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
4.9 สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น
4.9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
4.9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้
4.9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้
4.9.4 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
4. 9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้
4.9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้

5.จงยกตัวอย่างคุณค่าของสื่อการสอนในคุณค่าด้านวิชาการ คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษามา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ.
5.1 คุณค่าด้านวิชาการ
5.1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
5.1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
5.1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5.1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
5.1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
5.1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น

5.2 คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
5.2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
5.2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
5.2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง

5.3 คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
5.3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
5.3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
5.3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
5.3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

6.จงจำแนกประเภทของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ

6.1การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
6.1.1 วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
- แผนภูมิ (Charts)
- แผนภาพ (Diagrams)
- ภาพถ่าย (Poster)
- โปสเตอร์ (Drawing)
- ภาพเขียน (Drawing)
- ภาพโปร่งใส (Transparencies)
- ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
- แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
- เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
6.1.2 อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
- เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
- เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
6.1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
- บทบาทสมมุติ (Role Playing)
- สถานการณ์จำลอง (Simulation)
- การสาธิต (Demonstration)
- การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- กระบะทราย (Sand Trays)

6.2 การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
6.2.1 สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
- หนังสือแบบเรียน (Text Books)
- หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
- หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
- นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
6.2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
- แผนภูมิ (Chats)
- แผนสถิติ (Graph)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Poster)
- การ์ตูน (Cartoons)
6.2.3 วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
- เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
- เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- ฟิล์มสไลด์ (Slides)
- ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
- แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
6.2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
- เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)

6.3 การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์
เอดการ์ เดล เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ
ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก
10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลอง
สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรง
หรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้
เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น

ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหา
ที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย
ที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย

ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ
เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น

ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่า
การจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง
และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น

ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย
คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ
ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด

7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
1)ขั้นการเลือก (Selection)
2)ขั้นเตรียม (Preparation)
3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation)
4)ขั้นติดตามผล (Follow up)

8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2ชนิด
ตอบ.
1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ
-ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน
-ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง
2)ตัวอย่างของจริง
-ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง
-ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่อวเที่ยว


ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามตลาดน้ำคลองต้นเข็ม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯราว ๘๐ กิโลเมตร ในราวปี พ . ศ. ๒๔๐๙ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองดำเนินสะดวกระยะทางกว่า ๓๒ กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่บางนกแขวกกับแม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง และมีคลองซอยเล็ก ๆ มากมาย ทำให้ชาวบ้านในราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สามารถติดต่อกันทางน้ำได้สะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ . ศ. ๒๕๑๐ ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อม บรรทุกสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเริ่มค้าขายตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงช่วงประมาณ ๑๒. ๐๐ น. ส่วนตลาดน้ำวัดปราสาทสิทธิ์ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตเดิม ๆ อยู่มากจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ และจะวายตั้งแต่ก่อน ๐๘. ๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอดำเนินสะดวก โทร. ๐ ๓๒๒๔ ๑๐๒๓, ๐ ๓๒๓๔ ๖๑๖๑

จังหวัดราชบุรี





คำขวัญประจำจังหวัด



คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร

วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ่ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน

เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี


ตราประจำจังหวัด





ตราผ้าผูกคอลูกเสือ









ข้อมูลทั่วไป :

ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง อันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจ นานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรี ทอดตัวยาวทางทิศตะวันตก จรดชายแดนไทย-พม่า
ประวัติความเป็นมา :
จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง " เมืองพระราชา"ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษา และขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ใน บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ และ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย
โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขต
ราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน
พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรีทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476
เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน


อาณาเขตการปกครอง
:

จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 5,196 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านโป่งและอำเภอบ้านคา
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดกาญจนบุรีทิศใต้ ติดต่อจังหวัดเพชรบุรีทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐมทิศตะวันตก ติดต่อสหภาพพม่า
การเดินทาง :

ทางรถยนต์

- เส้นทางสายเก่า สายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านบางแค-อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรี
- เส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข 338 จากกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี
หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543


ทางรถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง และสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 1690 หรือ 0 2220 4334, 0 2220 4444 สถานีรถไฟธนบุรี โทร. 0 2411 3102 และสถานีรถไฟราชบุรี โทร. 0 3233 7002 หรือ http://www.railway.co.th/



ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถ จากสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน ทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศชั้น 1 และรถปรับอากาศชั้น 2 วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ห้องจำหน่ายตั๋ว โทร. 0 2434 7192, 0 2435 5605 หรือ www.transport.co.th และ บริษัทราชบุรีกลุ่ม 76 (ราชบุรี) จำกัด โทร. 0 3233 8439, 0 3232 2776, 0 3232 5152, 0 3233 8276 รถปรับอากาศชั้น 1 (ราชบุรี) โทร. 0 3233 7787 มีรถออกทุก 20 นาที (เที่ยวแรกออกจากกรุงเทพฯเวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 23.00 น.) (เที่ยวแรกออกจากราชบุรีเวลา 04.00 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น.)
นอกจากนี้จากสถานีขนส่งราชบุรีมีบริการรถโดยสารประจำทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
การเดินทางจากอำเภอเมืองราชบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - กิโลเมตรอำเภอบ้านคา - กิโลเมตรอำเภอวัดเพลง 15 กิโลเมตรอำเภอบางแพ 22 กิโลเมตรอำเภอปากท่อ 22 กิโลเมตรอำเภอโพธาราม 26 กิโลเมตรอำเภอจอมบึง 30 กิโลเมตรอำเภอบ้านโป่ง 42 กิโลเมตรอำเภอดำเนินสะดวก 50 กิโลเมตรอำเภอสวนผึ้ง 60 กิโลเมตร



หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :

สำนักงานจังหวัดราชบุรี โทร. 0 3232 7659-60, 0 3233 7890
เทศบาลเมืองราชบุรี โทร. 0 3233 7075, 0 3233 7076, โทร. 0 3233 7688, 0 3233 7134
โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี โทร. 0 3232 1826-8
โรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี โทร. 0 3232 7999
โรงพยาบาลสวนผึ้ง โทร. 0 3236 4496-8
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 3231 5494-6, 0 3233 7212
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสวนผึ้ง โทร. 0 3239 5111
สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอบ้านคา โทร. 0 3222 8573
ที่ทำการไปรษณีย์ โทร. 0 3233 7385, 0 3233 7168
สถานีเดินรถประจำทางปรับอากาศ โทร. 0 3232 2776, 0 3232 5152 โทร. 0 3233 8276, 0 3233 8439
บริษัท ราชบุรี กลุ่ม 76 จำกัด โทร. 0 3233 8439, 0 3233 8276
สถานีรถไฟราชบุรี โทร. 0 3233 7002 ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155